เป้าหมายรายสัปดาห์ เข้าใจความหมายและที่มาของตัวเลข
สามารถบอกค่าประจำหลัก และกระจายจำนวนที่มากกว่าหกหลัก
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
สัปดาห์ที่ 2
19 – 23 พฤษภาคม 2557
|
เครื่องมือคิด
Key Question
นักเรียนคิดว่าเลขประจำหลักคืออะไร?
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าประจำหลักและการกระจายจำนวน
Wall Thinking
- ใบงานมากกว่า
น้อยกว่า
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- เรื่องเล่า
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
|
ชง
- ครูเล่นเรื่อง “หัวหน้าจอมระแวง” เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องหน้าที่และตำแหน่ง
เชื่อมโยงเข้าสู่ค่าประจำหลัก
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง
พร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “แต่ละคนมีตำแหน่งอะไรบ้าง
ทำหน้าที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง”
เชื่อม
- ครูเขียนจำนวนบนกระดาน(1,009,876 622,375
9,999, 10,987)
พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “จำนวนใดมีค่ามากที่สุด”
- นักเรียนแลกเปลี่ยนคำตอบ
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับจำนวน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้ได้อย่างไรว่าจำนวนใดมากหรือน้อย” เชื่อมโยงสู่ค่าประจำหลัก
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าประจำหลัก
ใช้
นักเรียนเขียนบอกค่าประจำหลัก 1,235,678
ลงในสมุด
ชง
ครูให้นักเรียนจับฉลากจำนวนและเขียนลงบนกระดาษ
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันเรียนลำดับจำนวนจากน้อยไปหามาก,
จากมากไปหาน้อย
ใช้
นักเรียนแลกเปลี่ยนจำนวนกันในกลุ่มแล้วเขียนเรียงลำดับจำนวนจากมากไปน้อย,
จากน้อยไปมากลงในสมุด
เชื่อม
- ครูสร้างโจทย์การบวก 2
โจทย์
พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนแลกเปลี่ยนหาคำตอบ
จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์การบวก
-
ครูและนักเรียนร่วมกันเปรียบเทียบผลลัพธ์จากโจทย์การบวก
จากนั้นครูใส่เครื่องหมาย (<,>) ระหว่างผลลัพธ์ทั้งสองจำนวน
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องหมาย (<,>)
ใช้
นักเรียนทำใบงานมากกว่า, น้อยกว่า
|
- เขียนบอกค่าประจำหลัก
1,235,678 ลงในสมุด
- แลกเปลี่ยนจำนวนกันในกลุ่มแล้วเขียนเรียงลำดับจำนวนจากมากไปน้อย,
จากน้อยไปมากลงในสมุด
- ทำใบงานมากกว่า, น้อยกว่า
|
ความรู้
- จำนวน
- การเรียงลำดับ
- ค่าประจำหลัก
-
สัญลักษณ์ (<,>)
การแก้ปัญหา
มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ความพยายาม
สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ
และชื่นชมผลงานของตนเองทั้งผู้อื่นอย่างภาคภูมิใจ
ทักษะการทำงาน
- มีการวางแผนในการทำงาน
- สามารถทำงานหรือกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้
- คิดสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่
มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
|
บันทึกหลังการสอน
ตอบลบพฤติกรรม ... สัปดาห์ที่สองถึงว่ายังยากอยู่กับการจัดการในห้องเรียน เพราะมีพี่ๆ บางกลุ่มประมาณ 5 คนที่ยังไม่รู้เวลาและไม่สามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ คุณครูต้องคอยกระตุ้นและหยุดรอบ่อยครั้ง แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนดูตื่นเต้น และท้าทายสำหรับครูค่ะ ส่วนพี่ๆ คนที่สามารถดูแลตัวเองได้ดีแล้วก็คอยแนะนำเพื่อนๆ กลุ่มที่ยังไม่ค่อยรู้เวลาแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร และแล้วการเรียนรู้ระหว่างสัปดาห์ก็ผ่านไปได้ดี
กิจกรรมการเรียนรู้ ... ตลอดทั้งสัปดาห์ครูทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่พี่ๆ ป.3 ได้เรียนรู้มา และเป็นการเรียนรู้ระหว่างครูกับพี่ๆ ป.3 อีกทั้งสอดแทรกเครื่องหมาย <, > การกระจาย ค่าประจำหลักและการเรียงลำดับ โดยส่วนมากเน้นไปทางเรื่องเกม ตลอดสัปดาห์สังเกตได้ว่าพี่ๆ ป.3 บางคนมีพื้นฐานที่ดีสามารถเข้าใจ และถ่ายทอดโดยการอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ดี แต่ก็มีอีกบางกลุ่มประมาณ 4 – 5 คนที่ต้องคอยกระตุ้นมากๆ คุณครูส่งเสริมโดยเวลาทำงานครูให้โจทย์เท่ากับระดับพัฒนาการของแต่ละบุคคลเพื่อให้พี่ๆ คนที่ยังไม่เข้าใจจับรูปแบบได้ค่ะ